Skip to content Skip to left sidebar Skip to footer

แผนยุทธศาสตร์

นโยบายเพื่อพัฒนาแผนยุทธศาสตร์สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

           เพื่อให้การบริหารงานของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนบรรลุเป้าหมายตามปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ที่กำหนดขึ้นภายใต้พันธกิจและนโยบายของมหาวิทยาลัย จึงได้กำหนดกรอบนโยบายเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการไว้ 10 ข้อ ประกอบด้วย
1. ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต degree, Non-degree, credits bank และสหกิจศึกษา
3. พัฒนาระบบการประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาให้ทันสมัย สอดคล้องในยุคศตวรรษที่ 21
4. ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรในการพัฒนาตนเองให้มีความรู้เพิ่มขึ้น เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งและมีคุณวุฒิที่สูงขึ้น
5. พัฒนาระบบงานทะเบียนและวัดผล ระบบจัดแผนการเรียนและตารางเรียนให้มีประสิทธิภาพ
6. พัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความทันสมัย สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
7. สร้างความพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทุกสถานการณ์ ด้วยการพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ
8. ส่งเสริมและสนับสนุนพันธมิตรองค์กร และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในด้านต่าง ๆ
9. พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
10. บริหารองค์กรโดยใช้หลักธรรมาภิบาล (Good Governance)


ยุทธศาสตร์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570 เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาระบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน เพื่อให้เกิดเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ที่สอดคล้องกับทิศทางของยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และนโยบายของรัฐบาล โดยมีวิสัยทัศน์เพื่อ “เตรียมคนไทยแห่งศตวรรษที่ 21 พัฒนาเศรษฐกิจที่กระจายโอกาสอย่างทั่วถึง สังคมที่มั่นคง และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยสร้างความเข้มแข็งทางนวัตกรรมระดับแนวหน้าในสากล นำพาประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว” การจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ฉบับนี้ คำนึงถึงบริบทของการปฏิรูปประเทศในปัจจุบัน การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกระทรวงใหม่ และบริบทโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงออกแบบให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในลักษณะแพลตฟอร์ม (Platform) ความร่วมมือ ตามเป้าประสงค์ของการพัฒนาใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ 2) การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม 3) การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และ 4) การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ โดยดำเนินงานควบคู่ไปกับการปฏิรูประบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ยุทธศาสตร์การดำเนินงานในแต่ละแพลตฟอร์ม ได้กำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Objectives and Key Results: OKR) และชุดโปรแกรมภายใต้แพลตฟอร์ม เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบแผนด้านการอุดมศึกษา และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศต่อไป

ยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ได้ดำเนินการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฯ (พ.ศ. 2560 – 2564) ฉบับปรับปรุง ปี 2563 ขึ้น โดยการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานมหาวิทยาลัย ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งมีการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคต่าง ๆ อย่างรอบด้าน โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน รวมทั้งมีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง โดยมหาวิทยาลัยสามารถกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ฯลฯ ในการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็น “สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” โดยมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย จากเดิม 6 ยุทธศาสตร์ เพิ่มขึ้นเป็น 8 ยุทธศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้มีความครอบคลุมภารกิจของมหาวิทยาลัยในทุก ๆ ด้าน ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ปฏิรูประบบการบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาลเพื่อประสิทธิภาพและความยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยให้สมบูรณ์และสอดคล้องกับภารกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาความเข้มแข็งด้านการผลิตบัณฑิต
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนามหาวิทยาลัยให้มีความเข้มแข็งด้านการวิจัย
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (University Social Engagement) เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่ความเป็นสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 8 พัฒนาโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบและเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา

แผนการบริหารจัดการและแผนพัฒนาสำนักส่งเสริมวิขาการและงานทะเบียน
การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การบริหารสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ให้บรรลุวิสัยทัศน์ เป้าหมาย ดร.สุรเชษฐ์ วงศ์ชัยประทุม ได้จัดทำแผนการบริหารจัดการและแผนพัฒนายุทธศาสตร์ มุ่งเน้นการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรและการประชาสัมพันธ์รับสมัครนักศึกษาให้ทันสมัยสอดคล้องกับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 พัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้และมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตร Degree, Non-degree, Credits Bank สหกิจศึกษา การบริหารราชการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล องค์กรสร้างสุข และสำนักงานสีเขียว สำนักงานสะดวก ประกอบด้วย ประเด็นยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 8 ด้าน ดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : ยุทธศาสตร์ด้านงานหลักสูตรและแผนการเรียน
1.1 กลยุทธ์ : ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
1.2 กลยุทธ์ : ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้ให้ทันสมัยสอดคล้องกับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21
1.3 กลยุทธ์ : ปรับปรุงกระบวนการจัดแผนการเรียนและตารางเรียนให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารทั่วไป
2.1 กลยุทธ์ : บริหารจัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการบริการเต็มประสิทธิภาพ
2.2 กลยุทธ์ : พัฒนาระบบ CMS ที่ทันสมัยให้ครอบคลุมทุกมิติเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
2.3 กลยุทธ์ : ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริต
2.4 กลยุทธ์ : เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านงบประมาณของสำนักฯ
2.5 กลยุทธ์ : พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : ยุทธศาสตร์ด้านงานทะเบียนและวัดผล
3.1 กลยุทธ์ : พัฒนาระบบสถิติข้อมูลงานทะเบียนให้พร้อมใช้งานในระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 กลยุทธ์ : รับรายงานตัวนักศึกษาอย่างเป็นระบบ
3.3 กลยุทธ์ : ตรวจคุณวุฒิการศึกษาของนักศึกษาที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์และจากหน่วยงานภายนอกให้ถูกต้อง รวดเร็ว อย่างเป็นระบบ
3.4 กลยุทธ์ : บันทึกและตรวจสอบผลการเรียนในระบบฐานข้อมูล
3.5 กลยุทธ์ : เทียบโอนผลการเรียนของนักศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบ ลดขั้นตอนโดยใช้นวัตกรรม
3.6 กลยุทธ์ : ประเมินผลการเรียนเพื่อขออนุมัติการสำเร็จการศึกษาและขออนุมัติปริญญา
3.7 กลยุทธ์ : ออกหลักฐานทางการศึกษาถูกต้องรวดเร็วด้วยนวัตกรรม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : ยุทธศาสตร์ด้านงานบริการวิชาการ
4.1 กลยุทธ์ : ประชาสัมพันธ์รับสมัครนักศึกษาและสร้างเครือข่ายการให้บริการทางวิชาการ
4.2 กลยุทธ์ : สอบคัดเลือกนักศึกษาอย่างเป็นระบบตามเกณฑ์มาตรฐาน บนหลักธรรมาภิบาล
4.3 กลยุทธ์ : บริหารจัดการทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : ยุทธศาสตร์ด้านการเสริมสร้างความสุข ความปรารถนาดีและความภักดีต่อองค์กร
5.1 กลยุทธ์ : การเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี และความเสียสละเพื่อส่วนรวมที่มีต่อองค์กรทุกส่วนงานและทุกระดับ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 : ยุทธศาสตร์ด้านการยกระดับเครือข่ายพันธมิตรองค์กรเพื่อเสริมสร้าง
ความร่วมมือและการดำเนินงานร่วมกันในมิติที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
6.1 กลยุทธ์ : เสริมสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงานของเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะต่าง ๆ โดยการบูรณาการการทำงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างโอกาสที่ดีให้กับองค์กรและบุคลากรโดยได้รับความไว้วางใจเชื่อมั่นและมั่นใจด้วยความเชี่ยวชาญอย่างมืออาชีพ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 : ยุทธศาสตร์ด้านสำนักงานสีเขียวและศูนย์ราชการสะดวก (GECC)
7.1 กลยุทธ์ : ส่งเสริมและสนับสนุนการลดใช้กระดาษ
7.2 กลยุทธ์ : ส่งเสริมและสนับสนุนการลดใช้พลังงานไฟฟ้าและอนุรักษ์พลังงาน
7.3 กลยุทธ์ : ให้บริการที่สะดวก รวดเร็วด้วยนวัตกรรม และสร้างความประทับใจด้วยรอยยิ้ม
7.4 กลยุทธ์ : พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และฐานข้อมูลในการปฏิบัติงาน (E-Service) หรือสนับสนุนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.5 กลยุทธ์ : พัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 8 : ยุทธศาสตร์ด้านการตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร
ความเป็นธรรม ความมั่นคงและก้าวหน้าในวิชาชีพด้วยความจริงใจและใส่ใจ
8.1 กลยุทธ์ : สนับสนุนและส่งเสริมความมั่นคงก้าวหน้าในวิชาชีพและอาชีพสำหรับบุคลากร
ในองค์กรทุกระดับ การพัฒนาตนเองมุ่งสู่ความเชี่ยวชาญที่สูงขึ้น (We Care and Well Being)
8.2 กลยุทธ์ : สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
8.3 กลยุทธ์ : สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรทำวิจัยและตีพิมพ์บทความ